เวลาปัจจุบัน

จำนวนผู้เข้าชม

install tracking codes
Visitors Total

ปฏิทิน


ภาคผนวก ก : ขั้นตอนพิธีการบวชแบบมหานิกาย (อุกาสะ) >>>

1) ผู้บวชรับผ้าไตรอุ้มประนมมือ แล้วเดินเข้าไปในที่ประชุมสงฆ์ในพิธี (สังฆนิบาต) แล้ววางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย ผู้บวชรับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์ กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง แล้วอุ้มผ้าไตรประนมมือยืนขึ้น เปล่งวาจาขอบรรพชา ดังนี้

อุกาสะ วันทามิ ภันเต
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง
ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ
อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา ปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต

(นั่งคุกเข่าลง แล้วประนมมือว่า)
อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ

(กล่าว 3 ครั้งว่า)
สัพพะทุกขะ นิสสะระณะนิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ
อิมัง กาสาวัง คะเหตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต
อะนุกัมปัง อุปาทายะ (เสร็จแล้วพระอุปัชฌาย์จะมารับผ้าไตร แล้วว่าต่อไป)

(กล่าว 3 ครั้งว่า)
สัพพะทุกขะ นิสสะระณะนิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ
เอตัง กาสาวัง ทัตตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต
อะนุกัมปัง อุปาทายะ

2) พระอุปัชฌาย์ให้โอวาทและบอก ตะจะปัญจะกะกัมมัฏฐาน แล้วให้ผู้บวชว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลม (ไปข้างหน้า) และปฏิโลม (ทวนกลับ) ดังนี้

เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม)
ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม)

3) พระอุปัชฌาย์ชักอังสะออกจากไตรมาสวมให้ผู้บวช แล้วสั่งให้ผู้บวชออกไปครองผ้าครบไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้ว ผู้บวชรับเครื่องไทยทาน เข้าไปหาพระอาจารย์ ถวายท่านแล้วกราบ 3 ครั้ง ยืนประนมมือ เปล่งวาจาขอสรณะและศีล ดังนี้

อุกาสะ วันทามิ ภันเต
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
สาธุ สาธุ อะนุโมทาม

อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา
ติสะระเณนะ สะหะ
สีลานิ เทถะ เม ภันเต

(นั่งคุกเข่าขอสรณะและศีลดังต่อไปนี้)
อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ

4) พระอาจารย์กล่าวนำบทนมัสการพระพุทธเจ้า ให้ผู้บวชว่าตามดังนี้

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ ก็ให้รับว่า อามะ ภันเต

5) พระอาจารย์กล่าวนำบทสวดไตรสรณคมน์ ให้ผู้บวชว่าตามดังนี้

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ก็ให้รับว่า อามะ ภันเต

6) พระอาจารย์กล่าวนำสมาทานสิกขาบท 10 ให้ผู้บวชว่าตามดังนี้

ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
อะพรหมจริยา เวระมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ

วิกาละโภชนา เวระมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา เวระมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
ชาตะรูปะ ระชะตะ ปฏิคคหณา เวระมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ

(พระจะกล่าว 3 ครั้งว่า)
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สมาทิยามิ (เสร็จแล้วพึงกราบลง 1 หน แล้วยืนขึ้นว่าดังนี้)
วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ (คุกเข่าลงกราบ 3 ครั้ง)

7) ให้ผู้บวชรับบาตรอุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ในสังฆสันนิบาต วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย ผู้บวชรับเครื่องไทยทานถวายท่าน แล้วกราบ 3 ครั้ง เสร็จแล้วยืนขึ้นประนมมือกล่าวดังนี้

อุกาสะ วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ
อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา นิสสะยัง เทถะ เม ภันเต

(นั่งคุกเข่า)
อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ

(กล่าว 3 ครั้งว่า)
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ

8) พระอุปัชฌาย์จะกล่าวนำว่า โอปายิกัง ปะฏิรูปัง ปาสาทิเกนะ สัมปะเทหิ ผู้บวชพึงรับว่า อุกาสะ สัมปะฏิจฉามิ 3 ครั้ง แล้วให้ผู้บวชว่าตามดังนี้

(กล่าว 3 ครั้งว่า)
อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร (เสร็จแล้วยืนขึ้นว่าดังนี้)

วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ (คุกเข่าลงกราบ 3 ครั้ง)

9) พระอุปัชฌาย์หรือพระอาจารย์จะเอาบาตรมีสายโยคคล้องตัวผู้บวช แล้วบอกบาตรและจีวร ผู้บวชก็รับเป็นทอดๆ ไปดังนี้

พระอาจารย์ถามว่า

ผู้บวชกล่าวรับว่า

อะยันเต ปัตโต

อามะ ภันเต

อะยัง สังฆาฏิ

อามะ ภันเต

อะยัง อุตตะราสังโค

อามะ ภันเต

อะยัง อันตะระวาสะโก

อามะ ภันเต

10) พระอาจารย์ท่านจะบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ ผู้บวชก็ถอยออกไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ (ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณทางเข้าโบสถ์) ต่อจากนี้ไป พระอาจารย์จะสวดถามอันตรายิกธรรม ให้ผู้บวชรับว่า นัตถิ ภันเต 5 ครั้ง และต่อด้วย อามะ ภันเต อีก 8 ครั้ง ดังต่อไปนี้

พระอาจารย์ถามว่า

ผู้บวชกล่าวรับว่า

กุฏฐัง

นัตถิ ภันเต

คัณโฑ นัตถิ ภันเต

นัตถิ ภันเต

กิลาโส นัตถิ ภันเต

นัตถิ ภันเต

โสโส นัตถิ ภันเต

นัตถิ ภันเต

อะปะมาโร

นัตถิ ภันเต

มะนุสโสสิ๊

อามะ ภันเต

ปุริโสสิ๊

อามะ ภันเต

ภุชิสโสสิ๊

อามะ ภันเต

อะนะโณสิ๊

อามะ ภันเต

นะสิ๊ ราชะภะโฏ

อามะ ภันเต

อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ

อามะ ภันเต

ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊

อามะ ภันเต

ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง อามะ ภันเต

อามะ ภันเต

กินนาโมสิ

อะหัง ภันเต ...*(ชื่อพระใหม่) นามะ

โก นามะ เต อุปัชฌาโย

อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา...

* หมายเหตุ  : ผู้บวชจะต้องทราบชื่อทางพระที่พระตั้งให้ใหม่ก่อนวันบวช และต้องจำชื่อพระอุปัชฌาย์ให้ได้ด้วย

11) เมื่อเสร็จแล้ว ผู้บวชกลับเข้ามาข้างในที่ประชุมสงฆ์ กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ 3 ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือ เปล่งวาจาขออุปสมบทดังนี้

สังฆัมภันเต อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ

12) ต่อมาพระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม ผู้บวชก็รับว่า นัตถิ ภันเต 5 ครั้ง และ อามะ ภันเต 8 ครั้ง บอกชื่อพระใหม่ของตัวเอง และชื่อพระอุปัชฌาย์แบบที่ผ่านมา อย่างละ 1 ครั้ง

13) เมื่อเสร็จแล้ว พระจะสวดบทกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ พอจบแล้วพระก็จะเอาบาตรออกจากตัว ให้กราบลง 3 ครั้ง ผู้บวชนั่งพับเพียบ ฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบ แล้วก็กล่าวรับว่า อามะ ภันเต ผู้บวชกราบพระอุปัชฌาย์ 3 ครั้ง ถ้ามีเครื่องไทยทานก็ให้รับไทยทานถวายพระอันดับ เวลากรวดน้ำก็ให้ตั้งใจรำลึกถึงผู้มีพระคุณ อุทิศส่วนกุศลแด่ท่าน

14) ผู้บวชฟังพระกล่าวอนุโมทนาต่อไปจนจบ เป็นอันเสร็จพิธี

บรรณานุกรม (Bibilography) >>>

1) นฤดี น้อยศิริ. 2558. คู่มือการบวช. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : www.ayu-culture.go.th/newweb/images/knowledge/
K_G001.pdf. 20 ธันวาคม 2558

กลับไปยังหน้า "การบวช" >>>

หน้าแรก | ความเป็นมา | ข่าวและกิจกรรม | เที่ยวชมวัด | บรรยายธรรม | บทสวดมนต์ | ติดต่อวัด | กลับขึ้นด้านบน
สงวนลิขสิทธิ์ ปี 2559 โดยมูลนิธิสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์
จัดทำ ออกแบบและดูแล Website โดย นายรังสิมันตุ์ วงษ์นิกร

Free Web Hosting