เวลาปัจจุบัน

จำนวนผู้เข้าชม

install tracking codes
Visitors Total

ปฏิทิน


บทที่ 2 : คุณสมบัติของผู้บวช >>>

2.1) คุณสมบัติของผู้บรรพชาอุปสมบท

     2.1.1) ต้องรู้เดียงสา คือมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ส่วนผู้อุปสมบทต้องมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป

     2.1.2) ไม่เป็นโรคติดต่อ หรือโรคร้ายแรง เช่น โรคเรื้อน โรคฝีดาษ โรคกลาก หอบหืด ลมบ้าหมู และโรคที่สังคมรังเกียจอื่นๆ เป็นต้น

     2.1.3) ไม่เป็นผู้มีอวัยวะบกพร่อง หรือพิการ เช่น มือด้วน แขนด้วน ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ เป็นต้น

     2.1.4) ไม่เป็นคนมีอวัยวะไม่สมประกอบ เช่น เตี้ยเกินไป สูงเกินไป เป็นโรคคอพอก เป็นต้น

     2.1.5) ไม่เป็นคนทุรพล เช่น แก่เกินไป ช่วยเหลือตนเองไม่ได้

     2.1.6) ไม่เป็นคนมีพันธะ คือ คนที่บิดามารดาไม่อนุญาต ข้าราชการที่ไม่ได้รับอนุญาต คนมีหนี้สินพ้นตัว

     2.1.7) ไม่เป็นคนเคยถูกลงอาญาหลวง เช่น คนถูกสักหมายโทษ เป็นต้น

     2.1.8) ไม่เป็นคนประทุษร้ายความสงบ เช่น เป็นโจรผู้ร้ายต้องอาญาแผ่นดิน เป็นต้น

2.2) บุคคลต้องห้าม ไม่ให้บวชในพระพุทธศาสนาโดยเด็ดขาด

     2.2.1) บุคคลประเภทที่ 1 คือ บุคคลที่มีเพศบกพร่อง ได้แก่ ผู้เป็นบัณเฑาะก์ (กระเทย) และผู้เป็นอุภโตพยัญชนก (คนสองเพศ)

     2.2.2) บุคคลประเภทที่ 2 คือ บุคคลที่ทำผิดต่อพระพุทธศาสนา ได้แก่

                 2.2.2.1) ผู้ที่ฆ่าพระอรหันต์มาก่อน

                 2.2.2.2) ผู้ที่ข่มขืนทำร้ายพระภิกษุมาก่อน

                 2.2.2.3) ลักเพศ (ผู้ที่ปลอมบวชมาก่อน)

                 2.2.2.4) ภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์ (เคยบวชมาแล้วเปลี่ยนศาสนาไป เมื่อกลับมาขอบวชใหม่จะไม่รับ ถือว่าใจโลเล)

                 2.2.2.5) ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก (ผู้ที่บวชแล้วทำผิดร้ายแรง ขาดความเป็นภิกษุมาครั้งหนึ่งแล้ว จะกลับมาบวชอีกไม่ได้)

                 2.2.2.6) ภิกษุทำสังฆเภท (ทำให้สงฆ์แตกแยก)

                 2.2.2.7) ผู้ทำโลหิตุปบาท (ทำร้ายพระศาสดาถึงห้อพระโลหิต)

     2.2.3) บุคคลประเภทที่ 3 คือ บุคคลผู้ทำผิดต่อผู้ให้กำเนิดคือ ฆ่าบิดามารดาของตน

     บุคคลทั้ง 3 ประเภทนี้เรียกว่า "อภัพบุคคล" ห้ามอุปสมบทโดยเด็ดขาด แม้บวชแล้ว มารู้ทีหลังก็ต้องให้เขาออกจากความเป็นภิกษุสงฆ์

2.3) บุคคล 8 จำพวก มิให้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา

     2.3.1) บุคคลที่เป็นโรคอันสังคมรังเกียจ เช่น เป็นโรคติดต่อ ยกตัวอย่างเช่น โรคเรื้อน โรคฝี เป็นต้น

     2.3.2) คนที่มีอวัยวะไม่สมบูรณ์ เช่น คนที่มีมือขาด มีเท้าขาด มีนิ้วมือนิ้วเท้าขาด มีหูขาด มีจมูกขาด เป็นต้น

     2.3.3) คนที่มีอวัยวะไม่สมประกอบ เช่น คนที่มีมือเป็นแผ่น นิ้วมือติดกัน คนค่อม คนเตี้ย เป็นต้น

     2.3.4) คนที่พิกลพิการ คือ คนตาบอด คนที่เป็นง่อย คนมีมือเท้าหงิก คนเดินไม่ปกติ และคนหูหนวก เป็นต้น

     2.3.5) คนที่ทุพพลภาพ เช่น คนแก่ คนที่มีกำลังน้อย ไม่สามารถทำกิจการต่างๆ ด้วยตนเองได้ เป็นต้น

     2.3.6) คนที่มีพันธะผูกพัน เช่น คนที่บิดามารดาไม่อนุญาต คนที่มีหนี้สิน คนที่มีภรรยาแล้ว ภรรยาไม่อนุญาต เป็นต้น

     2.3.7) คนเคยถูกอาญาหลวง มีหมายปรากฏอยู่ ในสมัยก่อน ส่วนมากถูกเฆี่ยนหลังลาย หรือคนที่เป็นนักโทษ ถูกสั่งหมายโทษเอาไว้

     2.3.8) คนที่ประทุษร้ายต่อสังคม เช่น โจรผู้มีชื่อเสียง โด่งดัง ไม่สามารถบวชได้ เป็นต้น

2.4) บุคคลที่ห้ามอุปสมบท

     บุคคลที่ห้ามอุปสมบท คือ บุคคลผู้ที่ยังไม่พร้อม บวชไม่ได้ มีดังต่อไปนี้

     2.4.1) ผู้ไม่มีอุปัชฌาย์ คือ ไม่มีพระอาจารย์รูปไหนรับเป็นศิษย์

     2.4.2) ผู้ไม่มีบาตร

     2.4.3) ผู้ไม่มีจีวร

     2.4.4) ผู้ไม่มีทั้งบาตรทั้งจีวร

     2.4.5) ผู้ยืมบาตรเขามา

     2.4.6) ผู้ยืมจีวรเขามา

     2.4.7) ผู้ยืมทั้งบาตรทั้งจีวรเขามา

2.5) หน้าที่สำคัญสำหรับผู้ที่จะอุปสมบท

     2.5.1) ให้ท่องคำบวช หรือคำขานนาค อันได้แก่ คำขอบรรพชาอุปสมบท คำสมาทานสิกขาบท คำขอนิสัย คำตอบคำถามของ
พระกรรมวาจา ฯลฯ ให้จำได้ขึ้นใจ

     2.5.2) เมื่อใกล้ถึงวันบวช จะต้องไปอยู่วัด เพื่อฝึกซ้อมขั้นตอนพิธีการบรรพชาอุปสมบท จากพระพี่เลี้ยง และดูจากเจ้านาคคนอื่นๆ ที่อุปสมบทก่อนเรา

     2.5.3) ไปขอ "ฉายา" (ชื่อใหม่ของตน เมื่อบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว) จากพระอุปัชฌาย์หรือเจ้าอาวาส เพื่อใช้ตอบคำถามของ
พระกรรมวาจาต่อหน้าที่ประชุมสงฆ์ ในเวลาทำพิธีบวช

     2.5.4) ท่องบทสวดมนต์พระปริตรต่างๆ พร้อมบทให้ศีลให้พร บทอนุโมทนา ฯลฯ หลังจากที่บวชเป็นสามเณรหรือพระภิกษุแล้ว

บรรณานุกรม (Bibilography) >>>

1) นฤดี น้อยศิริ. 2558. คู่มือการบวช. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : www.ayu-culture.go.th/newweb/images/knowledge/
K_G001.pdf. 20 ธันวาคม 2558

กลับไปยังหน้า "การบวช" >>>

หน้าแรก | ความเป็นมา | ข่าวและกิจกรรม | เที่ยวชมวัด | บรรยายธรรม | บทสวดมนต์ | ติดต่อวัด | กลับขึ้นด้านบน
สงวนลิขสิทธิ์ ปี 2559 โดยมูลนิธิสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์
จัดทำ ออกแบบและดูแล Website โดย นายรังสิมันตุ์ วงษ์นิกร

Free Web Hosting